วันจันทร์ที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

ปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาหลักสูตร

1. ปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาหลักสูตร

การศึกษาถึงปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาหลักสูตร ผู้วิจัย (ภัทราภรณ์ โพนเงิน) ได้สังเคราะห์แนวคิดในด้านการพัฒนาหลักสูตรของกรมวิชาการ (2539) ที่คาดว่าสามารถนำมาใช้ในการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา มี 2 ด้าน คือ

1. ความพร้อมที่มีอยู่ภายในโรงเรียน เช่น บุคลากร การบริหาร วัสดุอุปกรณ์ ความร่วมมือระหว่างบุคคลในโรงเรียน ความร่วมมือระหว่างโรงเรียนกับชุมชนหรือท้องถิ่น

2. ความพร้อมที่มีอยู่นอกโรงเรียน เช่น ความร่วมมือของชุมชนผู้ปกครอง หน่วยงาน เป็นปัจจัยหลัก

ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการพัฒนาหลักสูตร แบ่งเป็น 2 ปัจจัย คือ

1. ปัจจัยภายใน

2. ปัจจัยภายนอก



ปัจจัยภายใน คือ ตัวแปรที่อยู่ในระบบโรงเรียนซึ่งเกี่ยวข้องกับการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา หมายถึง มีความเกี่ยวข้อง สัมพันธ์หรือมีอิทธิพลต่อการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาทั้งในด้านการปรับขยาย เพิ่มเติม การจัดทำรายวิชา การจัดทำสื่อเสริม และการกำหนดกิจกรรมเสริม ได้แก่

1. ความพร้อมด้านบุคคลากร

หมายถึง การจัดเตรียมความพร้อมให้แก่บุคลากรในด้านความรู้ความเข้าใจในการพัฒนาหลักสูตร การจัดสรรจำนวนบุคลากรที่เหมาะสม และการแบ่งภาระหน้าที่ที่รับผิดชอบในการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา

2. ความพร้อมด้านสื่ออุปกรณ์และอาคารสถานที่

หมายถึง การวางแผน การจัดเตรียมอาคารสถานที่ จำนวนสื่อ ที่อำนวยต่อการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา

3. ความรู้ความเข้าใจในเรื่องหลักสูตรของผู้บริหาร

หมายถึง ความรู้ความสามารถของผู้บริหาร ในการวางแผนการบริหารจัดการหลักสูตรในด้านการจัดทำสาระการเรียนรู้ของหลักสูตร การสนับสนุนด้านอำนวยความสะดวกในการพัฒนาหลักสูตร การนิเทศติดตามการใช้หลักสูตร และการประเมินผลการนำหลักสูตรไปใช้

4. นโยบายการบริหาร

หมายถึง การกำหนดเป้าหมายของโรงเรียน เพื่อให้มีการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาโดยมีการจัดประชุมชี้แจงให้บุคลากรรับทราบและเข้าใจนโยบายของโรงเรียนและถือเป็นแนวปฏิบัติ

5. งบประมาณ

หมายถึง การจัดสรรดำเนินการใช้เงินงบประมาณและนอกงบประมาณเพื่อสนับสนุนการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา



ปัจจัยภายนอก หมายถึง ตัวแปรที่อยู่ภายนอกระบบโรงเรียนซึ่งเกี่ยวข้องกับการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา ซึ่งในการพัฒนาหลักสูตรนั้นจำเป็นที่จะต้องอาศัยบุคลากรในชุมชนหรือท้องถิ่น เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาด้วย เนื่องจากในสภาพปัจจุบัน ต้องการเน้นให้หลักสูตรสถานศึกษาที่พัฒนาขึ้นมานั้น ได้สะท้อนถึงสภาพปัญหาและภูมิปัญญาท้องถิ่น (กระทรวงศึกษา, 2545) ได้แก่

1. ความร่วมมือจากชุมชน

หมายถึง การเข้าร่วมประชุม เสนอแนะแนวทางในการพัฒนาหลักสูตรจากบุคลากรในชุมชน การสนับสนุนช่วยเหลือด้านวิทยากรในท้องถิ่น และทุนทรัพย์ในการจัดซื้อวัสดุ อุปกรณ์ เพื่อการพัฒนาหลักสูตร

2. ความร่วมมือจากผู้ปกครอง

หมายถึง การเข้ามามีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการเข้าร่วมประชุม เสนอแนะแนวทางในการพัฒนาหลักสูตร การสนับสนุนช่วยเหลือในการใช้วัสดุ อุปกรณ์และทุนทรัพย์เพื่อการพัฒนาหลักสูตร

3. การสนับสนุนจากหน่วยงานในท้องถิ่น

หมายถึง การช่วยเหลือจากหน่วยงานในชุมชน ในเรื่องของงบประมาณ สื่ออุปกรณ์ และการจัดบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถเข้าเสนอแนะแนวทางในการพัฒนาหลักสูตร




ที่มา : วิทยานิพนธ์ เรื่อง “ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาของโรงเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ”

สาขา วิจัยการศึกษา ภาควิชาการวิจัยและจิตวิทยาการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ผู้วิจัย : ภัทราภรณ์ โพนเงิน (2548)

2 ความคิดเห็น:

  1. สวัสดีครับคุณครู
    สามก๊กวิทยา แวะเข้ามาอ่านและทักทายบล๊อกใหม่
    เขียนมาอีกเยอะ ๆ นะครับ จะตามอ่าน

    ตอบลบ
  2. Wynn hotel and casino - JSMH Hub
    Property Location 김천 출장마사지 With a stay at 고양 출장마사지 Wynn 광양 출장샵 Las Vegas in Las 과천 출장마사지 Vegas Strip, 삼척 출장샵 you'll be steps from LI Rating: 4.3 · ‎11,305 votes

    ตอบลบ

ปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาหลักสูตร


ความหมายของการพัฒนาหลักสูตร
นักวิชาการได้ให้ความหมายของการพัฒนาหลักสูตรไว้หลายท่าดังนี้
เซเลอร์ และ อเล็กซานเดอร์ (Saylor และ Alexander, 1974) ให้ความหมายไว้ว่า การพัฒนาหลักสูตรหมายถึง การทำหลักสูตรที่มีอยู่แล้วให้ดีขึ้น หรือการจัดทำหลักสูตรใหม่ขึ้นมาโดยไม่มีหลักสูตรเดิมเป็นพื้นฐานอยู่เลย ความหมายของการพัฒนาหลักสูตรรวมไปถึงการผลิตเอกสารต่างๆสำหรับผู้เรียนด้วย
สงัด อุทรานันท์ (2532) ได้กล่าวเกี่ยวกับความหมายของการพัฒนาหลักสูตรว่า มีความหมายเด่นชัดอยู่ 2 ลักษณะคือ ลักษณะแรก หมายถึงการทำหลักสูตรที่มีอยู่แล้วให้ดีขึ้นหรือทำให้สมบูรณ์ขึ้น และลักษณะที่สอง หมายถึง เป็นการสร้างหลักสูตรขึ้นมาใหม่ โดยไม่มีหลักสูตรเดิมเป็นพื้นฐานอยู่เลย
เสริมศรี ไชยศร (2526) ให้ความเห็นว่า การพัฒนาหลักสูตรหมายถึง การสร้าง การเปลี่ยนแปลง หรือปรับปรุงประสบการณ์เรียนรู้ทั้งหลาย รวมกระบวนการทั้งหมดตั้งแต่การวางแผนพัฒนา การศึกษาวิเคราะห์สภาพต่างๆ ก่อนการพัฒนาแล้วนำไปใช้ในการออกแบบหลักสูตรและการสอน การพิจารณาประเมินผลของหลักสูตร ทั้งในระหว่างการใช้หลักสูตรและหลังการใช้หลักสูตรแล้ว การพัฒนาหลักสูตรนั้นจะทำในระดับใดระดับหนึ่ง หรือส่วนใดส่วนหนึ่งของสิ่งที่เป็นองค์ประกอบของหลักสูตรก็ได้
สวัสดิ์ จงกล (2529, อ้างถึงใน ศิริชัย อนันตผล) ให้ความหมายว่า การพัฒนาหลักสูตรเป็นกระบวนการนำข้อกำหนดของหลักสูตรไปทำรายละเอียดในด้านเอกสารและกิจกรรมต่างๆให้ผู้เกี่ยวข้องกับการบริหารการศึกษาระดับต่างๆ และผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในการจัดทำกิจกรรมการศึกษาในสถานศึกษาดำเนินการ ได้แก่ การจัดทำรายละเอียดเป็นคู่มือหลักสูตร แผนการสอน คู่มือครู กำหนดการสอน ฯลฯ ให้เป็นเอกสารประกอบหลักสูตร


สวัสดิ์ จงกล (2529, อ้างถึงใน ศิริชัย อนันตผล) ให้ความหมายว่า การพัฒนาหลักสูตรเป็นกระบวนการนำข้อกำหนดของหลักสูตรไปทำรายละเอียดในด้านเอกสารและกิจกรรมต่างๆให้ผู้เกี่ยวข้องกับการบริหารการศึกษาระดับต่างๆ และผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในการจัดทำกิจกรรมการศึกษาในสถานศึกษาดำเนินการ ได้แก่ การจัดทำรายละเอียดเป็นคู่มือหลักสูตร แผนการสอน คู่มือครู กำหนดการสอน ฯลฯ ให้เป็นเอกสารประกอบหลักสูตร
บุญมี เณรยอด (2531) ได้ให้ความหมายของการพัฒนาหลักสูตรไว้ว่าการพัฒนาหลักสูตรหมายถึง การปรับปรุงโครงสร้างที่ประมาณความรู้ และประสบการณ์ทั้งหลาย เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้ดีขึ้น ให้เหมาะสมและสอดคล้องกับสภาพสังคม เพื่อบรรลุความมุ่งหมายที่วางไว้
จากความหมายการพัฒนาหลักสูตรของนักการศึกษาที่ผ่านมา สรุปได้ว่า การพัฒนาหลักสูตรหมายถึง การปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลงของหลักสูตรที่มีอยู่แล้ว หรือการสร้างหลักสูตรขึ้นใหม่ขึ้นมา โดยอาจไม่มีโครงสร้างของหลักสูตรเดิมอยู่ก็ได้ โดยมีเป้าหมายคือ เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้ดีขึ้น และให้เหมาะสมสอดคล้องกับสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป

กระบวนการพัฒนาหลักสูตร
การพัฒนาหลักสูตรเป็นกระบวนการที่สำคัญที่สุดดังที่นักศึกษาไทย และต่างประเทศเสนอไว้ดังนี้
ไทเลอร์ (Taylor, 1950) ได้ตั้งคำถามสำหรับนักพัฒนาหลักสูตรไว้ 4 ข้อ คือ
1.) มีจุดมุ่งหมายทางการศึกษาอะไรบ้างที่โรงเรียนจะต้องจัดให้เด็ก
2.) มีประสบการณ์ทางการศึกษาอะไรบ้างที่สามารถทำให้บรรลุจุดมุ่งหมาย
3.) จะจัดประสบการณ์เหล่านี้ อย่างไรจึงจะประสบผลสำเร็จฃ
4.) จะสามารถตัดสินใจได้อย่างไรว่า จุดมุ่งหมายเหล่านั้นเป็นไปตามที่กำหนด
ทาบา (Taba, 1962 อ้างถึงใน มาเจอ โก๊สุโข, 2537)
ได้กล่าวถึงกระบวนการในการพัฒนาหลักสูตรดังนี้
1. สำรวจให้ทราบความต้องการและความจำเป็นต่างๆของสังคม เพื่อเป็นแนวทางในการกำหนดจุดมุ่งหมาย
2. ตั้งวัตถุประสงค์ของการศึกษาตามที่สังคมต้องการ โดยใช้ข้อมูลที่ได้จาการสำรวจ
3. คัดเลือกเนื้อหาวิชาความรู้ ที่ต้องนำมาสอน เพื่อให้มีความรู้ตรงกับความต้องการและความจำเป็นของสังคม โดยพยายามคัดเลือกให้เรียนเฉพาะที่ตรงกับวัตถุประสงค์ของการศึกษาที่ตั้งไว้ในข้อที่ 2
4. จัดระเบียบ จัดลำดับ แก้ไขเนื้อหาวิชาความรู้ ที่คัดเลือกมาได้ในขั้นที่ 3 เพื่อพิจารณาการจัดลำดับเนื้อหาความยากง่ายของสาระในแต่ละวิชาว่าอะไรควรเรียนก่อนหลัง
5. คัดเลือกประสบการณ์เพื่อการเรียนรู้ต่างๆ ที่จะสร้างเนื้อหาให้สมบูรณ์ซึ่งประสบการณ์ดังกล่าวจะต้องสอดคล้องกับจุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้
6. จัดระเบียบ ลำดับ แก้ไขปรับปรุงประสบการณ์ต่างๆที่จะนำมาเสริมเนื้อหาวิชาความรู้ โดยพิจารณาว่าประสบการณ์ควรจัดให้ผู้เรียนรู้ก่อนหรือหลัง
7. กำหนดว่ามีเนื้อหาวิชา หรือ ประสบการณ์อะไรบ้างที่จะต้องประเมินผลว่าได้มีการเรียนรู้ตรงกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้หรือไม่เพียงใด นอกจากนี้ต้องกำหนดว่าจะใช้วิธีประเมินผลอย่างไร มีอะไรที่จะนำมาช่วยในการประเมินบ้าง
8. ตรวจสอบความคงที่และความเหมาะสมในแต่ละขั้น เพื่อดูว่าเนื้อหาที่จัดขึ้นสอดคล้องกับจุดมุ่งหมายหรือไม่ กิจกรรมที่จัดขึ้นเปิดโอกาสให้ผู้เรียนพัฒนาไปตามความสอดคล้องของเนื้อหาหรือไม่ มีความเหมาะสมเพียงใด ช่วยให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ตามจุดหมายหรือไม่
สงัด อุทรานันท์ (2532) ได้กล่าวถึงขั้นตอนการพัฒนาหลักสูตรดังนี้
1. วิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน
2. กำหนดจุดมุ่งหมายของหลักสูตร
3. คัดเลือกและจัดเนื้อหาสาระและประสบการณ์
4. กำหนดมาตรการวัดและประเมินผล
5. นำหลักสูตรไปใช้
6. ประเมินผลการใช้หลักสูตรและประบปรุงแก้ไขหลักสูตร

โปรดร่วมแสดงความคิดเห็น